Monday, August 20, 2012

Regina Spektor จากรัซเซียสู่นิวยอร์ค

Technorati Tags: ,

ในขณะที่บ้านเรา มักจะชอบพูดถึงความเป็นไทย และชอบกดวัฒนธรรมอื่นอยู่เสมอ จนเล่นเอาเป็นห่วงว่าจะปรับตัวทัน AEC รึเปล่า แต่ในเมืองร้อยพ่อพันธุ์แม่อย่างนิวยอร์ค ศูนย์กลางของโลก เชื้อชาติกลายเป็นเรื่องรองไปเลย เพราะมันคือหม้อต้มยำของชาติพันธุ์จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นใคร ขอให้พยายาม คุณก็ประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกับศิลปินหญิงของเรา ที่เกิดในรัซเซียแท้ๆ แต่มาโตที่นิวยอร์คและประสบความสำเร็จเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนี้ได้เป็นอย่างดี เธอคือ Regina Spektor

af55362c91173cbf5a84a63b3ff9e7b7

Regina Spektor เกิดในครอบครัวชาวยิวในโซเวียต (สมัยนั้นยังเป็นโซเวียตครับ) ซึ่งเธอเติบโตขึ้นมาพร้อมกับเรียนวิชาเปียโนด้วยเปียโนขนาดเล็กที่ได้รับจากปู่ของเธอ ในขณะเดียวกันเธอก็ได้รับอิทธิพลจากเพลงทางตะวันตกอย่างเช่น The Beatles และ Queen ผ่านทางพ่อของเธออีกด้วย ซึ่งดนตรีดังกล่าวถือเป็นของหายากในโซเวียตยุคนั้นแน่นอนครับ และเมื่อเข้าสู่ช่วงที่มีการเคลื่อนไหวเปเรสทรอยก้า โดยการนำของมิคาเอล กอร์บาชอฟ ซึ่งเปิดโอกาสให้ชาวรัสเซียอพยพไปต่างประเทศได้ ครอบครัวของเธอก็ไม่พลโอกาสที่จะอพยพออกจากประเทศ เมื่อเธออายุได้เพียง 9 ขวบ เพราะว่าแม้จะเป็นชาวรัสเซีย แต่ชนเชื้อสายยิวก็มักจะถูกดูแคลนจากชาวรัสเซียทั่วไปเสมอ การออกจากประเทศจึงเป็นทางออกที่ดี

ครอบครัวสเป็คเตอร์เดินทางผ่านออสเตรีย อิตาลี แล้วค่อยมาถึงนิวยอร์ค ซึ่งพวกเขาปักหลักลงที่บรองซ์ผ่านการช่วยเหลือของสมาคมผู้ช่วยเหลือชาวยิวอพยพ ซึ่งครอบครัวเธอก็เป็นครอบครัวรัสเซียครอบครัวแรกในรอบ 20 ปีของละแวกนั้น พวกเธอปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ และแม้จะทิ้งเปียโนแสนรักไว้ที่โซเวียต เธอก็ได้อาศัยเปียโนในศาสนสถานของชาวยิวเป็นที่ฝึกฝีมือ แม้จะเริ่มต้นด้วยการเรียนดนตรีคลาสสิก แต่เมื่อเธอึกษาดนตรีมากขึ้นไปเรื่อยๆ ความหลากหลายของดนตรีทำให้เธอได้รับอิทธพลที่หลากหลาย ตั้งแต่เพลงร๊อคไปจนถึงเพลงฮิพฮอพ และเธอก็เริ่มรู้ตัวว่าสามารถแต่งเพลงได้ด้วย หลังจากจบการศึกษาด้านดนตรี เธอจึงเริ่มทๆงานเพลงลูกผสมของเธอ และออกแสดงในทุกสถานที่ที่มีโอกาส และก็ได้ออกผลงานด้วยตัวเองมาสองอัลบั้มคือ 11.11 และ Songs ในปี 2001 และ 2002 ตามลำดับ (ขอโทษครับ ไม่มีปัญญาหามาฟังครับ)

และเป็นงานชุดที่สอง ที่เธอได้ร่วมงานกับอดีตสมาชิกของ They Might Be Giants ซึ่งก็ชื่นชอบเธอและได้แนะนำให้เธอได้รู้จักกับ Gordon Raphael โปรดิวเซอร์ที่ปั้นยอดวงแห่งยุคนั้นอย่าง The Strokes ขึ้นมาก และเขาทั้งสองก็ได้ร่วมกันโปรดิวซ์ผลงานชุดที่สามของเธอ นั่นคือ Soviet Kitsch ในปี 2004 ซึ่งแม้จะเป็นเป็นงานที่เธอออกด้วยตนเองเหมือนสองชุดแรก แต่ก็ได้ค่าย Sire มาช่วยจัดจำหน่ายทีหลัง ทำให้เธอเป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้นกว่าเดิม

ด้วยความที่โปรดิวเซอร์ของวงระดับเทพอย่าง The Strokes มาโปรดิวซ์ให้ เหลานักฟังเพลงจึงคาดหวังกับงานชุดแรกของเธอเป็นอย่างมาก ซึ่งเธอก็ไม่ทำให้ผิดหวังครับ แม้เธอจะถูกแบรนด์ว่าเป็น Singer/Song-writer (ตามสไตล์ศิลปินที่แต่งเพลงเอง ร้องเอง เล่นเปียโน ทั้งที่แนวอื่นมันก็แต่งเองนะ) แต่ด้วยความก๋ากั๋น แหวกแนว และขี้เล่นของเธอ ทำให้ Soviet Kitsch เป็นอัลบั้มที่โดดเด่นด้วยเสียงเปียโน และเสียงร้องแบบสาวแสบยานคงของเธอ อย่างเช่น Sailor Song ที่เธอร้องด่านัง Marianne อย่างเมามัน (ใครกันหว่า) ส่วน Us ซึ่งเป็นเพลงโปรด ก็ไล่เรียงเปียโนไปพร้อมกับเสียงร้องขี้เล่นของเธอได้ดี แม้จะเปิดอัลบั้มด้วยเพลงนิ่มๆอย่าง Ode to Divorce ทำให้นึกไปถึงศิลปินสาวรุ่นพี่ แต่พอเริ่มเพลง Poor Little Rich Boy ก็เริ่มสัมผัสความกวนของเธอได้เพราะคำผรุสวาทออกมาแบบเต็มๆเลยครับ (ฮา) ยิ่งพอมาเพลง Your Honor นี่การาจร๊อคมาเองเลยครับ ดิบเชียว ยังดีที่ส่งท้ายด้วย Somedays ที่นุ่มลงหน่อย สรุปได้ว่า Soviet Kitsch เป็นงานเปิดตัวในวงกว้างที่โดเด่นเอาเรื่องเลยทีเดียวครับ

reginaspektor05

แต่เมื่อเธอมาออกอัลบั้มเต็มๆกับ Sire ในปี 2006 ชื่อ Begin to Hope อาจจะเพื่อปรับตัวเข้ากับต้นสังกัด งานเพลงของเธอลดความก๋ากั๋นลงไป แต่เพิ่มมิติที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้นกว่าเดิม (เทียบภาพปกก็คงพอเข้าใจครับ) เช่นเพลงอย่าง On The Radio ก็เริ่มต้นด้วยเสียงเปียโนก่อนจะผสมเสียงกลองสังเคราะห์เข้าไปให้ได้เพลงป๊อปที่มีคุณภาพดีจริงๆ ส่วน Hotel Song ก็เป็นเพลงที่จังหวะเร็วขึ้นมาชวนให้เต้นรำได้เพลินๆ อีกสองเพลงเด่นคงเป็นสองเพลงแรก Fidelity และ Better ที่พร้อมจะถูกจับไปใส่โฆษณาเสียจริงๆ แม้ Begin to Hope จะลดความเปรี้ยงลง แต่เธอก็หาแนวทางที่ลงตัวให้กับตัวเองได้อย่างยอดเยี่ยมครับ

ในปี 2009 เธอกลับมาอีกครั้งกับ Far ที่ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์ถึง 4 คนซึ่งก็รวมไปถึง David Kahne อดีตโปรดิวเซอร์ของ The Strokes อีกคน ซึ่ง Far ก็เป็นการเติบโตขึ้นไปอีกขั้นของเธอ เสียงเปียโนของเธอยังโดดเด่นเสมอ มันโดดเด่นตั้งแต่เพลงเปิดตัวเพลงแรก The Calculation ที่ฟังได้อย่างเพลิดเพลิน แต่ละเพลงดูเหมือนโฟกัสมากกว่าเดิม และเธอได้ทำเพลงอย่างมั่นใจในตัวเอง แต่ละเพลงเด่นอย่าง Two Birds, Blue Lips และ Human of the Year ต่างก็เป็นเพลงที่ฟังได้ไม่เบื่อเลยจริงๆครับ โดยเฉพาะเพลงแรกที่ผมชอบเสียงเปียโนเหลือเกิน

และในปีนี้ เธอก็กลับมากับผลงานชุดใหม่ What We Saw from the Cheap Seats ที่เป็นงานที่ยิ่งเห็นพัฒนาการของเธอยิ่งขึ้นจากสาวซ่าก๋ากั๋น เธอเปลี่ยนโทนของเพลงเป็นสาวที่แสนร่าเริงกิ๊บเก๋ ดูจากซิงเกิ้ล Don't Leave Me (Ne me quitte pas) ที่ออกจะมาดเท่ราวกับสาวปารีเซียงซะขนาดนั้น ส่วนเพลงเปิดอัลบั้ม Small Town Moon ก็ออกมาสมกับคำว่า Singer/Song-writer และผสมเสียงกีตาร์เข้าไปได้อย่างลงตัว ถ้าต้องการเพลงช้าๆโชว์เปียโนก็ต้อง Firewood และ Ballad of a Politician ที่เรียบเรียงออกมาได้ดีจริงๆ งานชุดล่าสุกคือการเติบโตของเธอที่ไม่ควรพลาดจริงๆครับ

No comments: